บทความนี้สนับสนุนโดย Siam Ultimate Racing

ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง ถือเป็นอีกหนึ่งส่วนประกอบที่สำคัญของระบบเชื้อเพลิง โดยมีหน้าที่หลักคือ ปั๊มเอาน้ำมันจากถังเพื่อจ่ายให้กับรางหัวฉีดนั่นเองครับ นอกจากปั๊มน้ำมันจะต้องสามารถจ่ายน้ำมันในปริมาณที่เพียงพอแล้ว ก็ต้องสามารถสร้างแรงดันได้อย่างเหมาะสมด้วย

และถึงแม้ว่าเจ้าปั๊มเชื้อเพลิงที่ว่านี้ จะมีหลักการทำงานที่ไม่ซ้ำซ้อน และมีหน้าที่แค่ป้อนเชื้อเพลิงเท่านั้น แต่ความจริงแล้ว ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงถือเป็นปัจจัยสำคัญอันดับต้นๆ ของเครื่องยนต์ เพราะปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงคือ ‘ต้นน้ำ’ ของระบบเชื้อเพลิงทั้งระบบ ซึ่งถ้าหากว่าปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงทำงานด้วยความบกพร่อง หรือมีการชำรุดเสียหาย จะส่งผลโดยตรงต่อสมรรถนะการทำงานของเครื่องยนต์อย่างทันที

หลายๆ ท่าน อาจจะรู้จักกับเจ้าปั๊มเชื้อเพลิงตัวนี้ว่า ‘ปั๊มติ๊ก’ ซึ่งที่มาที่ไปของคำว่า ‘ปั๊มติ๊ก’ นั้น ก็เพราะว่า พี่ติ๊ก ชิโร่ เป็นคนคิดค้นคนแรกนั่นเองครับ 55+ ล้อเล่นนะครับ ...เนื่องจากว่าระหว่างที่ปั๊มทำงานนั้น จะมีเสียงติ๊กๆ ตลอดเวลา จึงเป็นที่มาของชื่อ ‘ปั๊มติ๊ก’ นั่นเองครับ

ระบบเชื้อเพลิงแบบไหลย้อนกลับภายในถัง

ระบบเชื้อเพลิงแบบไหลย้อนกลับจากรางหัวฉีด

 

โดยปกติแล้ว ในรถยนต์รุ่นใหม่ๆ นั้น ปั๊มติ๊กจะถูกแช่ไว้ในถังน้ำมันโดยตรง และจะปั๊มน้ำมันจากถังขึ้นมาเพื่อป้อนให้กับเครื่องยนต์ และนอกจากนั้นแล้ว ยังมีปั๊มติ๊กอีกหนึ่งประเภท ที่จะติดตั้งไว้นอกถังน้ำมัน ซึ่งจะทำให้ตัวปั๊มอยู่ใกล้กับเครื่องยนต์มากกว่า ว่าแต่ว่า...การวางปั๊มติ๊กไว้ในถังและไว้นอกถังนั้น จะมีข้อดี-ข้อเสียต่างกันอย่างไร เราลองไปอ่านรายละเอียดกันดูครับ

1. ปั๊มติ๊กแช่ถังน้ำมัน (In-tank Fuel Pump)

รถยนต์เบนซินส่วนบุคคลในยุคปัจจุบันนั้น เกือบทั้งหมดจะมีการติดตั้งปั๊มติ๊กไว้ในถังน้ำมัน ข้อดีประการแรกก็คือว่า การนำเอาปั๊มไปจุ่มไว้ในน้ำมัน ถือเป็นการระบายความร้อนที่ดีที่สุด นอกจากนั้นแล้ว เนื่องจากว่า ปั๊มประเภทนี้ มีท่อดูดจุ่มอยู่ในถังโดยตรง จึงสามารถลดการเกิดไอของน้ำมันในขณะดูดได้ ข้อดีอีกหนึ่งประการก็คือว่า เมื่อปั๊มติ๊กจุ่มอยู่ในถังแล้ว ถ้าเกิดการลัดวงจรของปั๊ม โอกาสที่จะเกิดประกายไฟและเกิดการลุกไหม้นั้น จะเกิดขึ้นได้ยากมาก เพราะว่าน้ำมันในถังจะลุกไหม้ได้ยากกว่า ‘ไอน้ำมัน’ นั่นเองครับ

 

2. ปั๊มติ๊กแบบอยู่นอกถัง (In-line Fuel Pump)

ปั๊มติ๊กประเภทที่สองนี้ จะถูกวางไว้นอกถังน้ำมันเชื้อเพลิง (เรียกว่า In-line หรือ External ก็ได้ครับ) โดยอาจจะติดตั้งอยู่ที่ห้องเครื่องยนต์ หรือสำหรับรถแข่งบางคันนั้น มีการติดตั้งปั๊มติ๊กไว้ในห้องโดยสารเลยก็มี ข้อดีของปั๊มติ๊กประเภทนี้เลยก็คือว่า เนื่องจากปั๊มอยู่ใกล้กับเครื่องยนต์มากกว่า จึงสามารถสร้างแรงดันเพื่อส่งไปยังรางหัวฉีดได้มากกว่านั่นเอง โดยปกติแล้ว ปั๊มที่วางไว้นอกถังส่วนใหญ่จะเป็นปั๊มติ๊กซิ่ง ซึ่งจะมีความสามารถในการสร้างแรงดันน้ำมันที่มากกว่าปั๊มติ๊กจากโรงงาน

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนั้น ก็ได้มี ‘ปั๊มติ๊กซิ่ง’ มากมายหลายยี่ห้อ ที่สามารถติดตั้งแบบจุ่มในถังเชื้อเพลิง การทำเช่นนี้ จะช่วยเรื่องการระบายความร้อน และลดโอกาสที่น้ำมันจะกลายเป็นไอในท่อทางดูด นอกจากนั้น ยังช่วยลดโอการที่จะเกิดประกายไฟซึ่งจะนำมาสู่เพลิงไหม้ได้อีกด้วย

ยกตัวอย่างเช่น ปั๊มติ๊กยี่ห้อดังอย่าง WALBO 150LPH ได้พัฒนาและออกแบบปั๊มติ๊กแรงดันสูง ให้สามารถติดตั้งในถังนำมันแทนปั๊มติ๊กเดิมได้เลย นอกจากนั้น WALBO 150LPH ยังสามารถใช้งานได้กับเชื้อเพลิงที่ผสมเอทานอล อย่างโซฮอล์ E85 ได้อย่างไม่มีปัญหา

ปั๊มติ๊กในถัง Walbro 150LPH (E85) รหัส F10000138 เหมาะกับรถ 120-250 แรงม้า

สำหรับการเลือกขนาดของปั๊มติ๊กโดยคร่าวๆ นั้น วิธีง่ายที่สุดคือ ให้เอาแรงม้าของเครื่องยนต์เรา ไปเทียบว่าปั๊มติ๊กตัวไหนสามารถรองรับได้นั่นเองครับ ยกตัวอย่างเช่น WALBO 150LPH สามารถรองรับเครื่องยนต์ที่สร้างแรงม้าได้ 120-250 แรงม้า ถ้าเครื่องยนต์ของเราสามารถสร้างแรงม้าได้ราวๆ นี้ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องยนต์ NA หรือเครื่องยนต์เทอร์โบ ก็สามารถใช้ปั๊มติ๊กตัวนี้ ได้อย่างไม่มีปัญหาเลยครับ

นอกจากการเลือกปั๊มติ๊กโดยใช้ตัวเลขของแรงม้าแล้ว ถ้าหากว่าเราสามารถคำนวณอัตราการบริโภคน้ำมัน รวมไปถึงแรงดันที่ต้องการได้ ก็จะยิ่งทำให้เราสามารถเลือกปั๊มติ๊กได้ตรงตามความต้องการมากขึ้นไปอีก

อัตราการไหลและแรงดันของ WALBO 150LPH

เนื่องจากว่าระบบเชื้อเพลิงนั้น เป็นระบบที่มีความละเอียดอ่อน และถือว่าเป็นระบบที่มีความจุกจิกอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นแล้ว การบำรุงรักษาปั๊มติ๊กซึ่งถือเป็นหัวใจของระบบเชื้อเพลิง จึงเป็นเรื่องที่ละเลยไม่ได้โดยเด็ดขาด

1. ไม่ควรปล่อยให้น้ำมันเหลือน้อยจนถึงขีดสุดท้าย

อย่างที่ได้ทราบกันไปแล้วว่า น้ำมันเชื้อเพลิงนั้น นอกจากจะช่วยระบายความร้อนให้ปั๊มติ๊กแล้ว ยังถือเป็นของเหลวที่ช่วยหล่อลื่นชิ้นส่วนภายในปั๊มด้วย ถ้าหากว่า ในถังน้ำมันมีน้ำมันน้อยเกินไป จะส่งผลเสียต่อการระบายความร้อนนั่นเองครับ

2. ควรเติมน้ำมันคุณภาพสูง

การเติมน้ำมันคุณภาพสูงจากปั๊มน้ำมันที่เชื่อถือได้ จะช่วยการันตีเรื่องความสะอาดของน้ำมัน ซึ่งถ้าหากว่าน้ำมันมีความสกปรกและมีสิ่งแปลกปลอมมากเกินไป จะทำให้ชิ้นส่วนภายในของปั๊มติ๊กเกิดความสึกหรอได้เร็วกว่าปกติ นอกจากนั้นแล้ว น้ำมันที่ไม่มีคุณภาพยังทำให้กรองน้ำมันเชื้อเพลิงเกิดการตันได้เร็วอีกด้วย

 

และนี่ก็คือวิธีการคร่าวๆ ในการดูแลรักษาปั๊มติ๊ก สำหรับบทความนี้ ก็คงต้องจบแต่เพียงเท่านี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านผู้อ่านจะได้รับความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับปั๊มติ๊กไม่มากก็น้อย

สำหรับผู้ที่สนใจในปั๊มติ๊ก WALBRO รวมไปถึงสินค้าตัวอื่นๆ สามารถเข้าชมได้ที่ เว็ปไซต์ https://siamultimateracing.com/ และสอบถามรายละเอียดสินค้าได้โดยตรงที่ แฟนเพจ Siam Ultimate Racing

 

บทความนี้สนับสนุนโดย Siam Ultimate Racing

 

 

Get Connected | ติดต่อกับพวกเราได้ที่...