บทความนี้ ได้รับการสนับสนุนโดยSiam Ultimate Racing

ปัจจัยพื้นฐานที่จะทำให้เครื่องยนต์สามารถเกิดการสันดาปได้อย่างสมบูรณ์นั้น ประกอบไปด้วย น้ำมัน, อากาศ และไฟจุดระเบิด เมื่อทั้ง 3-ปัจจัยนี้ มารวมตัวกันใน ปริมาณที่พอเหมาะ และใน จังหวะที่พอดี แล้ว ... ก็จะเกิดเป็น เวทมนต์ ที่จะบันดาล แรงบิดมหาศาล ให้กับเราในบัดดล...

อย่างไรก็ตาม ถ้าหากว่า ปัจจัยทั้ง 3-ตัว ที่ผมได้กล่าวมานี้ เกิดมารวมตัวกันใน จังหวะที่ไม่สมดุล และ ใน ปริมาณที่ไม่สมส่วน แล้วล่ะก็... ต่อให้ใช้เวทย์มนต์ดำเข้ามาช่วย-ไสยศาสตร์เข้ามาเสริม ก็อย่าหวังเลยว่า จะได้แรงม้าอย่างเต็มคอก และแรงบิดอย่างที่เต็มที่

เพราะฉะนั้น อัตราส่วนระหว่างน้ำมันและอากาศ หรือที่เรียกกันว่า ค่า A/F จึงมีความสำคัญอย่างมากต่อสมรรถนะของเครื่องยนต์ และในบทความนี้ เราจะไปชมการติดตั้งและรีวิวเกจวัด A/F ในตระกูล X-Series ซึ่งเป็นรุ่นล่าสุดของสำนักของแต่งชื่อดัง-สัญชาติอเมริกันอย่าง AEM โดยเกจตัวนี้ มีไว้เพื่ออ่านค่าอัตราส่วนน้ำมัน-และ-อากาศ ซึ่งอัตราส่วนค่านี้ จะเป็นตัวบ่งชี้ว่า แรงม้าที่อยู่ในเครื่องยนต์ของเรา ได้วิ่งเพื่อปั่นเพลาข้อเหวี่ยงอย่างเต็มกำลังหรือไม่ หรือว่ามีม้าตัวไหนอู้งานอยู่แถวท่อไอดีหรือเปล่า

หลายๆ คนอาจจะยังไม่เข้าใจว่า ค่า A/F คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร ทำไมต้องติดเกจวัดประเภทนี้ด้วย ...เพราะฉะนั้นในบทความนี้ นอกจากจะประกอบไปด้วยบทรีวิวการใช้งาน และสาธิตวิธีติดตั้งแล้ว ...ผมยังได้เรียบเรียงความหมายและความสำคัญของค่า A/F มาให้อ่านแบบ ถึงลูก-ถึงก้าน กันเลยทีเดียว

และผมเชื่อว่า... ถ้าหากท่านผู้อ่านได้อ่านเนื้อหาทั้งหมดของบทความนี้แล้ว ก็จะได้รับ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการจูนนิ่ง ที่สามารถไปถกไปเถียงกับจูนเนอร์ได้อย่างไม่อายใคร หรืออาจจะนำความรู้จากบทความนี้ ไปศึกษาต่อยอดเพื่อพัฒนาตนเองให้กลายเป็น จูนเนอร์ ก็จัดไปอย่าให้เสียครับ...

อัตราส่วน A/F คืออะไร

กระบวนการเผาไหม้ที่เกิดขึ้นในกระบอกสูบนั้น (Combustion Process) ก็คือ การนำเอาอากาศ (อ็อกซิเจน) มาผสมกับน้ำมันในอัตราส่วนที่เหมาะสม อัตราส่วนดังกล่าวนี้ถูกเรียกว่า อัตราส่วน A/F (Air/Fuel Ratio) หรือบางคนก็เรียกว่า AFR ...ในทางทฤษฎีแล้ว อัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุดสำหรับน้ำมันเบนซินก็คือ 14.7:1 ซึ่งหมายถึงการผสมกันระหว่างอากาศ 14.7 กรัม ต่อ น้ำมัน 1 กรัม ถ้าอัตราส่วน A/F มีค่ามากกว่าค่านี้ (มากกว่า 14.7) นั่นหมายความว่า อากาศที่เข้ามาในกระบอกสูบ มีค่าเยอะกว่าน้ำมัน ซึ่งภาษาจูนเนอร์เขาจะเรียกว่า ส่วนผสมบาง (Lean Mixture) ... ในทางตรงกันข้าม ถ้าหากว่า อัตราส่วน A/F มีค่าน้อยกว่า 14.7 นั่นหมายถึง ในกระบอกสูบมีน้ำมันมากกว่าอากาศ เราจะเรียกอัตราส่วนนี้ว่า ส่วนผสมหนา (Rich Mixture)

กราฟความสัมพันธ์ระหว่าง อัตราส่วน A/F และแรงบิด

ต้องควบคุมให้ค่า A/F = 14.7 ตลอดเวลาเลยเหรอ

อย่างที่ได้เกริ่นไปแล้วว่า อัตราส่วน A/F = 14.7 หมายถึงการสันดาปนั้น ได้เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ ไม่บางเกิน และไม่หนาเกิน ซึ่งโดยมากแล้ว รถยนต์เดิมๆ จากโรงงาน (ขณะขับด้วยความเร็วคงที่) จะได้รับการจูนนิ่งให้มีค่า A/F อยู่ประมาณ 14.4-14.8 ซึ่งเป็นค่า A/F ที่ประยัดน้ำมันที่สุดและสร้างมลพิษไอเสียในปริมาณที่น้อยที่สุด

กราฟความสัมพันธ์ระหว่าง อัตราส่วน A/F และมลพิษไอเสีย

แต่ในจังหวะเร่งเครื่องนั้น น้ำมันจะถูกฉีดให้หนาขึ้น อัตราส่วน A/F จึงมีค่าลดลง (หนาขึ้น) โดยค่า A/F จะไต่ลงไปราวๆ 13.0-13.5 ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่สามารถสร้างแรงบิดได้มากที่สุด แต่ในขณะเดียวกัน ก็ปล่อยมลพิษออกมาในปริมาณที่เยอะกว่า โดยการควบคุมค่าอัตราส่วน A/F ให้เหมาะสมกับสถานการณ์การขับขี่นั้น จะเป็นหน้าที่ของกลง่องควบคุมอิเล็คทอรนิคส์ที่เรียกว่า กล่อง ECU โดยจะปรับอัตราตาส่วน A/F ให้เพิ่มขึ้นและลดลง สอดคล้องตามสถานการณ์ของการขับขี่

คำถามต่อมาก็คือว่า...

ในเมื่อกล่องเดิมก็ปรับเปลี่ยนค่า A/F ได้อย่างเหมาะสมแล้ว...ทำไมต้องไปติดตั้งเกจวัด A/F เพื่อดูค่าแบบ เรียลไทม์ ด้วย

อย่างที่ผมได้เกริ่นไปแล้วว่า เครื่องยนต์แตนๆ จากโรงงาน จะมีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้ค่า A/F อยู่ในย่านที่ ประหยัดน้ำมัน และ มิลพิษต่ำ ...แล้วถ้าต้องการ สมรรถนะ ล่ะ

ใช่แล้วครับ...สำหรับรถแต่งที่ได้มีการโมดิฟายเครื่องยนต์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ของแต่งที่มีผลโดยตรงเกี่ยวกับปริมาณอากาศที่เข้าสู่เครื่องยนต์ (แคมซิ่ง, ปาดฝา, ใส่ลูกสูบกำลังอัดสูง , หรือการปรับบูสต์เพิ่มสำหรับเครื่องยนต์เทอร์โบ) รวมไปถึงระบบการฉีดน้ำมัน (หัวฉีดซิ่ง, ปั๊มแรงดันสูง) ซึ่งการโมดิฟายทั้งหมดที่ผมกล่าวมานี้ ล้วนแล้วแต่มีผลกับค่า A/F ด้วยกันทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น สำหรับเครื่องยนต์ที่ได้รับการปรับแต่งมา จึงต้องมาปรับจูนค่า A/F ใหม่กันอีกรอบ เพื่อให้การเผ้าไหม้เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ และสามารถ เค้น เอาแรงม้าออกมาจากเครื่องยนต์ให้ได้แบบ ครบทุกตัว

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า...ขณะนี้ เครื่องยนต์มีค่า A/F ที่พอเหมาะ-พอดีแล้ว

ต้องลองดมไอเสียครับ....ผมล้อเล่นนะครับ ...การที่เราจะทราบว่า ขณะนี้ เครื่องยนต์ได้จุดระเบิดและเผาไหม้อย่างสมบูรณ์นั้น เราจะใช้เซ็นเซอร์ที่เรียกว่า แลมด้า เซ็นเซอร์ (Lambda Sensor) หรือที่รู้จักกันในชื่อ โอ-ทู เซ็นเซอร์ (O2 Sensor) แต่ก็มีจูนเนอร์บางท่านเรียกว่า ไวด์-แบนด์ เซ็นเซอร์ (Wide-band Sensor) ซึ่งเซ็นเซอร์ประเภทนี้ จะติดตั้งไว้บริเวณท่อไอเสีย (หรือที่เฮดเดอร์) เพื่อวัดปริมาณอ็อกซิเจนที่หลงเหลือจากการสันดาป แล้วแปลงออกมาเป็นค่า A/F อีกต่อหนึ่ง

และเมื่อเราทราบค่า A/F ในแต่ละช่วงของการขับขี่แล้ว ทีนี้...เราก็จะสามารถรับรู้ได้ถึงการทำงานของเครื่องยนต์ได้อย่างละเอียด ซึ่งเหล่าจูนเนอร์ก็จะใช้ค่าที่วัดได้ A/F นำมาแก้ไขระยะยกหัวฉีดและองศาการจุดระเบิดจนกระทั่งค่าได้ A/F ที่เหมาะสม

และในวันนี้ เราก็จะมารีวิว เกจวัด A/F จากค่าย AEM ซึ่งเกจวัดตระกูล X-Series ตัวใหม่ล่าสุดนี้ ขึ้นชื่อว่าเป็นเกจวัดที่สามารถตอบสนองได้ เร็วที่สุดในโลก...นอกจากนั้นแล้ว X-Series ตัวนี้ ยังมีฟังก์ชั่นอื่นๆ ที่น่าสนใจอีกเพียบ เพราะฉะนั้น ขาซิ่งทั้งสายสตรีท-และ-สายเพอร์ฟอร์แมนซ์ รวมไปถึงจูนเนอร์ทั้งมือใหม่-และ-มือเก๋า... ห้ามพลาดด้วยประการทั้งปวงครับ!

เกจวัด AEM X-Series Wide-Band มันมีดียังไง ทำไมถึงฮิตกันจัง

เกจวัด X-Series ได้รับการทดสอบค่าความไวการตอบสนอง (Response Time) เทียบกับเกจวัดอื่นๆ ทั้งหมด 17-ยี่ห้อ ผลปรากฏว่า เกจวัดที่เรากำลังรีวิวอยู่นี้ มีค่าความไวมากที่สุด ซึ่งหมายความว่าทั้งตัวเกจวัดและเซ็นเซอร์ตัวนี้ สามารถอ่านค่าได้อย่างแม่นยำโดยที่ไม่มีการดีเลย์เลยแม้แต่น้อย สัญญาณที่ออกจากเซ็นเซอร์จะตรงเข้าสู่กล่องควบคุมหลักโดยทันที (สำหรับกล่องสแตน-อะโลน) ทำให้เครื่องยนต์สามารถฟีดแบ็คและตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว สำหรับจูนเนอร์เองก็จะได้ประโยชน์ด้วยเช่นกัน เนื่องจากว่าฟีดแบ็คที่ไม่มีดีเลย์นั้น จะทำให้จูนเนอร์สามารถทำการปรับจูนได้อย่างละเอียดและมีประสิทธิภาพมากขึ้น (Extremely Fined-tune)

ผลการทดสอบ 'ความไว' ของเซ็นเซอร์แต่ละยี่ห้อ

นอกจากนั้นแล้ว X-Series Wide-band ยังมีฟังก์ชั่น Free-air Calibration (ฟรี-แอร์ คาลิเบรชั่น) ซึ่งใช้สำหรับการตรวจสอบความคลาดคลื่นและปรับตั้งค่าความแม่นยำเพื่อให้เซ็นเซอร์มีประสิทธิภาพสูงสุดอยู่ตลอดเวลา แต่อย่างไรก็ตาม ทาง AEM ก็ได้มีการการันตีว่า เซ็นเซอร์ Wide-band ที่อยู่ในชุด X-Series (ยี่ห้อ BOSCH) ไม่มีความจำเป็นต้องทำการ Calibrate ตลอดอายุการใช้งาน

สามารถชมขั้นตอนการทำ Free-air Calibration ได้ที่ วิดีโอทดสอบและรีวิวการติดตั้ง

แต่สำหรับรถที่โมเครื่องมาโหดๆ จูนหนาๆ บูสต์หนักๆ เมื่อใช้ไปนานๆ เข้า จะมีเขม่าและคราบน้ำมันมาสะสมตัวถ้า ที่ปลายของตัวเซ็นเซอร์ ทำให้ค่าที่วัดได้จะมีความคลาดเคลื่อนเล็กน้อย ฟังก์ชั่น Free-air Calibration นั้น เป็น นำเอาเซ็นเซอร์ออกมาวัดปริมาณอ็อกซิเจนเทียบกับอากาศภายนอก หลังจากนั้น ตัวเครื่องจะทำการปรับค่าการคำนวณปริมาณอ็อกซิเจน ซึ่งจะช่วยเพิ่มความแม่นยำได้อย่างสูงสุดตลอดช่วงอายุการใช้งาน

รายละเอียดของผลิตภัณฑ์

ในกล่องที่ให้มานั้น ประกอบไปด้วย

1. แลมป์ดา เซ็นเซอร์ ยี่ห้อ BOSCH ชนิดไวด์-แบนด์ (Wide-band) ทนความร้อนสูง อ่านค่าได้รวดเร็วและแม่นยำ และได้รับการการันตีจากต้นสังกัดว่า...ไม่จำเป็นต้องทำการ Calibration (สอบเทียบ) ตลอดอายุการใช้งาน

2. เกจวัดดิจิตอล AFR X-Series เกจวัดแสดงผลเป็นตัวเลขดิจิตอลทั้งหมด 4-ตำแหน่ง ขนาดกะทัดรัด-น้ำหนักเบามากครับ เส้นผ่านศูนย์กลางมาตรฐาน 52-มิลลิเมตร นอกจากจะแสดงค่า A/F ด้วยความละเอียดระดับทศนิยม 2-ตำแหน่งแล้ว เกจวัดตัวนี้ยังสามารถแสดงผลค่า แลมป์ด้า (Lambda) และปริมาณอ็อกซิเจน (%) ที่หลงเหลือจากการสันดาปได้ด้วย

3. สาย Data Logger และสายไฟเลี้ยง 12V (Power Cable) สามารถต่อเข้ากับกล่องเก็บข้อมูลมาตรฐาน (Data Logger) เพื่อนำเอาค่าฟีดแบ็คไปวิเคราะห์ต่อยอด นอกจากนั้นแล้ว สัญญาณตัวนี้ ยังสามารถส่งเข้าไปที่กล่องแสตน-อะโลนของ AEM ได้โดยตรงเลยครับ

4. สายเซ็นเซอร์ ทนความร้อนได้สูงและมีความยาวเหลือเฟือเลยครับ สำหรับจูนเนอร์ที่ชอบติดตั้งเซ็นเซอร์ไว้ที่ท่อไอเสีย ก็สามารถลากสายมาจูนหน้ารถได้สบายๆ เลยครับ

5. ตัวยึดเซ็นเซอร์และท่อหด ตัวยึดเซนเซอร์ทำมาจากเหล็ก และกลึงเกลียวมาให้เรียบร้อย สามารถเชื่อมติดกับเฮดเดอร์ได้เลยครับ

6. คู่มือการติดตั้งและสติ๊กเกอร์

เนื่องจากโปรดัคส์ตัวนี้ เหมาะอย่างมากสำหรับรถยนต์สมรรถนะสูงๆ และเพื่อให้เข้ากับคอนเซ็ปต์ของเกจ X-Series ตัวนี้ ผมเองก็ได้นำรถยนต์สมรรถนะสูง (โคตรๆ) มารีวิวและทำการติดตั้งให้ชมกันอย่างจุใจ

วิดีโอ -ติดตั้งและทดสอบ เกจวัด AFR X-Series จากสำนัก AEM

และรถยนต์ที่เราจะนำมาเป็น หนูลองยา ในวันนี้ก็คือ Mitsubishi Lancer Evolution 9 ที่ สวย-เนียน-แรง ซึ่งทำการโมดิฟายเครื่องยนต์มาโหดเอาเรื่อง ทั้งลูก-ก้าน-ข้อ ฝา-เกียร์-กล่อง เรียกได้ว่าทำทั้งตัวจริงๆ ถึงแม้จะทำเครื่องมาเยอะพอสมควร แต่ คุณเจมส์ เจ้าสำนัก 333 GARAGEและก็เป็นเจ้าของ EVO9 คันนี้ ก็ได้บอกว่า รถคันนี้สามารถขับใช้งานในชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ ตรงตามคอนเซ็ปต์ Street-used อย่างแท้จริง

เกจวัด AEM X-Series Wide-band เหมาะกับใครบ้าง

อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วเบื้องต้นว่า เกจวัดตัวนี้ เหมาะอย่างยิ่งสำหรับรถยนต์ที่ได้รับการโมดิฟายเครื่องยนต์ ทั้งสายสตรีท (จูนเบา), สายเพอร์ฟอร์มานซ์ (จูนหนัก) รวมไปถึงรถแข่งสนาม (จูนโคตรหนัก) ซึ่งต้องวัดค่า A/F แบบเรียลไทม์อย่างต่อเนื่อง เพื่อตรวจสอบสมรรถนะของเครื่องยนต์โดยละเอียด

นอกจากนั้นแล้ว เกจวัดตัวนี้ ยังเหมาะจูนเนอร์ที่ต้องการความรวดเร็วและแม่นยำในการอ่านค่าอัตราส่วน A/F เพื่อให้สามารถทำการจูนนิ่งได้อย่างละเอียดและมีประสิทธิภาพสูง

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ได้ที่

Siam Ultimate Racing

ผู้นำเข้าและจำหน่ายอย่างเป็นทางการในประเทศไทย

บริษัท สยาม อัลติเมท เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด

อาคารฟอรั่ม ชั้น25 ถ.รัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กทม.10310

02-245-0688, 061-621-9254

ขอบขอบคุณ

- คุณเจมส์ 333GARAGE - บริการครบวงจร ตรวจเช็คระยะซ่อมบำรุงดูแลรักษารถยนต์ แอร์ แบตเตอร์รี่ สี และ ตัวถัง

- พี่พีท Minna Garage - จำหน่าย Performance parts and Accessories ทั้งรถญี่ปุ่นและรถยุโรป

Get Connected | ติดต่อกับพวกเราได้ที่...