ฟิล์มติดรถยนต์ กลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับรถยนต์ในบ้านเรา ฟิล์มติดรถยนต์ถือว่าเป็นอุปกรณ์ตกแต่งชิ้นแรกๆ ที่เรานำมาติดตั้งให้กับรถสุดรัก ซึ่งหน้าที่หลักของมันก็หนีไม่พ้นการช่วยลดความร้อนแรงของแดดประเทศไทยแล้ว นอกจากนั้น การติดฟิล์มยังช่วยเพิ่มความเป็นส่วนตัวให้กับห้องโดยสาร ทำให้ไม่เคอะเขินตอนที่เราลืมเปิดไฟเลี้ยว (ล้อเล่นครับ) และการติดฟิล์มที่มีสีสันสวยงามและมีความเข้มอย่างเหมาะสมนั้น ยังเป็นการช่วยเพิ่มความโดดเด่นให้กับตัวรถอีกต่างหาก

โดยพื้นฐานแล้ว ฟิล์มที่ดีควรมีคุณสมบัติการกรองแสงที่สูง โดยจะต้องสามารถป้องกันรังสี UV เพื่อลดปริมาณความร้อนสะสมให้ได้มากที่สุด นอกจากนั้น จะต้องสามารถรักษาทัศนวิสัยการขับขี่ได้ทั้งกลางวันและกลางคืน (การสะท้อนแสงต่ำ) พูดง่ายๆ ก็คือ ตัวฟิล์มต้องไม่เข้ม-ไม่มืด จนกระทั่งทำให้ขับรถตอนกลางคืนลำบากนั่นเองครับ ซึ่งเรื่องนี้ ถือเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และสำหรับผู้ที่กำลังจะตัดสินใจซื้อฟิล์มติดรถยนต์ ควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอันดับต้น

นอกจากนั้น ฟิล์มที่ดี จะต้องไม่รบกวนสัญญาณดิจิตอล ไม่ว่าจะเป็นสัญญาณ GPS หรือสัญญาณระบบอีซี่พาส (และเอ็มพาส) ซึ่งรถยนต์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันนั้น ล้วนแล้วแต่มีการใช้สัญญาณ GPS เพื่อใช้ในระบบนำทาง เพราะฉะนั้นแล้ว ฟิล์มที่ดีจึงจะต้องมีคุณสมบัติที่ทำให้สัญญาณดิจิตอลสามารถส่งผ่านได้อย่างสะดวก

ในปัจจุบันนี้ มีฟิล์มรถยนต์หลายประเภทให้เราเลือกใช้กัน และในบทความนี้ เราโฟกัสไปที่ความสามารถในการกรองแสง รวมไปถึงการป้องกันความร้อนของฟิล์ม และจะไปทำความรู้จักกับฟิล์มประเภทต่างๆ เพื่อหาคำตอบว่า... ฟิล์มประเภทไหนที่สามารถกันความร้อนได้ดีที่สุด โดยบทความนี้ได้ผู้เชี่ยวชาญเรื่องรถจาก CARRO (เว็บไซต์ขายรถยนต์ออนไลน์  ที่มีระบบขายรถให้กับเต้นท์ทั่วประเทศ ในราคาดีที่สุด สะดวกรวดเร็ว >> https://th.carro.co/sell-car/express) มาให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ฟิล์มกันร้อนแบบไหนดีที่สุดครับ

 

1. ฟิล์มกรองแสงแบบปกติ (Dyed Window Tint)

ฟิล์มประเภทนี้ จะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ‘ฟิล์มกรองแสงแบบย้อมสี’ สามารถกรองแสงจากดวงอาทิตย์ให้มีความเข้มที่น้อยลง และสามารถสะท้อนรังสีได้บางส่วนเท่านั้น จึงทำให้ไม่สามารถลดปริมาณความร้อนสะสมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนั้นแล้ว ฟิล์มกรองแสงประเภทนี้ ยังไม่สามารถลดแสงสะท้อนจากภายนอกได้ดีเท่าที่ควร อีกทั้งมีอายุการใช้งานที่สั้นเมื่อเปรียบเทียบกับฟิล์มประเภทอื่นๆ ทำให้ฟิล์มกรองแสงแบบปกติ ไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน

 

2. ฟิล์มลดความร้อนประเภทไอโลหะ (Metalized Window Tint)

ฟิล์มความร้อนประเภทไอโลหะหรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า ‘ฟิล์มปรอท’ โดยตัวฟิล์มจะมีการเคลือบผิวด้วยไอโลหะต่างๆ ทำให้มีความมันวาวเมื่อมองจากด้านนอก ฟิล์มประเภทนี้มีคุณสมบัติที่เหนือกว่าฟิล์มกรองแสงแบบปกติ

โดยจุดเด่นของฟิล์มประเภทนี้ คือการ ‘สะท้อน’ รังสีความร้อน นอกจากนั้นแล้ว ยังสามารถลดปริมาณความร้อนสะสมภายในห้องโดยสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังมีคุณสมบัติในเรื่องของการลดแสงสะท้อนจากภายนอก ช่วยทำให้สบายตาขณะขับขี่ในตอนกลางวันที่มีแดดจัด แต่ยังมีข้อเสียในเรื่องของการส่งผ่านสัญญาณดิจิตอลที่ไม่ค่อยจะดีนัก ทำให้เกิดปัญหาการรับ-ส่งสัญญาณ GPS และ Easy Pass อยู่บ่อยครั้ง

 

3. ฟิล์มประเภทคาร์บอน (Carbon Window Tint)

ฟิล์มประเภทคาร์บอน หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ‘นาโนคาร์บอน’ จะเป็นการนำเอาโมเลกุลคาร์บอนมาผสมไว้ในเนื้อฟิล์ม โดยมีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกันกับฟิล์มประเภทเคลือบโลหะ (หรือฟิล์มปรอท) นั่นก็คือการสะท้อนและลดความเข้มของรังสีต่างๆ เพื่อป้องกันความร้อนที่จะเข้ามายังห้องโดยสาร

เนื่องจากมีฟิล์มประเภทนี้ มีการนำเอาคาร์บอนมาเคลือบที่ชั้นฟิล์ม ทำให้ฟิล์มคาร์บอนจะมีความเข้มที่มากกว่าปกติเมื่อมองจากภายนอก เหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่ต้องการความเป็นส่วนตัวในการเดินทาง แต่ถึงแม้ว่าภายนอกจะดูมืด แต่เมื่อมองจากห้องโดยสารนั้น จะยังคงใสแจ๋วและชัดเจน ทำให้มีทัศนวิสัยการขับขี่ที่ดีเยี่ยมทั้งกลางวันและกลางคืน

โดยปกติแล้ว ฟิล์มกรองแสงประเภทคาร์บอนจะสามารถป้องกันรังสีอินฟาเรดได้สูงถึง 40% ทำให้สามารถกันความร้อนและลดความร้อนสะสมที่เกิดขึ้นภายในห้องโดยสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้น ฟิล์มประเภทนี้ยังเป็นมิตรกับคลื่นดิจิตอล ทำให้ไม่มีปัญหาในการใช้สัญญาณ GPS และ Easy Pass เป็นผลให้ฟิล์มประเภทนี้ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน

 

4. ฟิล์มเซรามิค (Ceramic Window Tint)

ฟิล์มกรองแสงเซรามิค หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ‘นาโนเซรามิค’ เป็นการนำเอาอนุภาคขนาดจิ๋วของเซรามิคมาเคลือบเป็นชั้นฟิล์ม เมื่อมองจากภายนอกแล้ว จะมีความสว่างใส ทำให้รถดูสะอาดตา และยังสามารถป้องกันรังสี UV ได้มากถึง 99% อีกทั้งยังช่วยป้องกันรังสีความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ (เมื่อเปรียบเทียบกับฟิล์มนาโนคาร์บอนที่มีความเข้มเท่ากันแล้ว ฟิล์มทั้งสองประเภทจะสามารถป้องกันความร้อนได้ใกล้เคียงกัน)

ฟิล์มนาโนเซรามิคจะไม่รบกวนสัญญาณดิจิตอล นอกจากนั้นแล้ว ฟิล์มนาโนเซรามิคยังมีคุณสมบัติเด่นอีกอย่างนั่นก็ ฟิล์มประเภทนี้ จะไม่ซีดถึงแม้จะติดตั้งมาเป็นเวลานานก็ตาม ด้วยคุณสมบัติที่กล่าวมานี้ ทำให้ฟิล์มนาโนเซรามิคนี้ ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ในขณะเดียวกันก็มีราคาสูงที่สุดในตลาดเช่นเดียวกัน

 

5. ฟิล์มคาร์บอน-เซรามิค (Carbon-Ceramic Window Tint)

นอกจากนั้นแล้ว ในปัจจุบันนี้ ยังมีฟิล์มประเภทคาร์บอน-เซรามิค ฟิล์มประเภทนี้ เป็นลูกผสมระหว่างฟิล์มคาร์บอนและฟิล์มเซรามิค โดยเป็นการดึงเอาจุดเด่นของฟิล์มทั้งสองประเภทมารวมไว้ด้วยกัน เมื่อมองจากภายนอกตัวฟิล์มจะไม่สว่างเท่ากับฟิล์มนาโน และด้วยความมืดที่เพิ่มเข้ามา จะช่วยลดโอกาสการโจรกรรมทรัพย์สินที่มีค่าภายในรถ นอกจากนั้นแล้ว การเพิ่มส่วนผสมของคาร์บอน ยังช่วยลดการสะท้อนของแสงจากภายนอกขณะที่ขับขี่กลางแดดจ้าอีกด้วย

 

และอย่างที่เราได้เกริ่นไปก่อนหน้านี้ว่า ฟิล์มที่ดีนั้น นอกจากจะมีประสิทธิภาพที่ดีการกรองแสงและลดความร้อนได้สูงแล้ว ยังสามารถเพิ่ม 'ความคูล' ทำให้รถของเราดูเด่นสะดุดตา และเป็นการเพิ่มมูลค่าของรถเราอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่มีการตีราคาเพื่อซื้อขาย ซึ่งถือเป็นเรื่องใกล้ตัวเรามากขึ้น เพราะปัจจุบันมีการซื้อขายรถยนต์ออนไลน์กันอย่างแพร่หลาย ทำให้รถยนต์กลายเป็นสินค้าที่ซื้อง่าย-ขายคล่องมากยิ่งขึ้น

ยกตัวอย่างเช่น Carro เว็บไซต์ยอดนิยมที่ให้บริการฟรี! ตั้งแต่เช็กราคาฟรีตลอดจนจบการขาย ซึ่งตอนนี้ได้ข่าวมาว่ารับซื้อได้ทั่วประเทศเลย อีกทั้งจบการขายได้ใน 24 ชั่วโมงเท่านั้น อันนี้เพื่อว่าใครสนใจอยากจะขายรถ แนะนำเลยครับ ใช้เวลาลงข้อมูลเพียง 5 นาทีเท่านั้น กรอกข้อมูลรถได้ที่นี้ >> https://th.carro.co/sell-car/express

พอพูดมาถึงประเด็นนี้ หลายๆ คนอาจจะสงสัยว่า การขายรถยนต์ภายใน 24 ชั่วโมง เป็นไปได้ด้วยเหรอ? คำตอบคือ เป็นไปได้แล้วครับ โดยเว็บไซต์การซื้อขายรถยนต์ออนไลน์อย่าง Carro นั้น จะหาราคาที่ดีที่สุดในขณะนั้นมาให้อย่างรวดเร็วที่สุด

โดยรถยนต์จะประเมินราคาจากผู้เชี่ยวชาญ และมีขั้นตอนไม่วุ่นวาย ทำให้รถที่เราจะขายง่ายขึ้น และสามารถเข้าถึงกลุ่มคนที่ต้องการจะซื้อได้ง่ายขึ้น ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการซื้อ-ขายรถยนต์ จนทำให้การซื้อ-ขายรถยนต์ในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอีกต่อไปครับ

 

 

Get Connected | ติดต่อกับพวกเราได้ที่...