เรียบเรียงโดยJoh BURUT

สนับสนุนบทความโดย Motys Oil Thailand

ในปัจจุบันนี้ ต้องยอมรับเลยว่า... หัวเชื้อน้ำมันเครื่อง (Oil Additives) กลายเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับรถยนต์ที่ได้รับการพูดถึงเป็นอันดับต้นๆ เลยนะครับ ...มันกลายเป็นสินค้าที่แทบจะหาซื้อได้ทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นอู่ซ่อมรถก็มี ร้านล้อร้านยางก็มี ร้านล้างรถยนต์ก็มี ตามเฟซบุ๊ค-ตามแฟนเพจต่างๆ ก็มีสินค้าประเภทนี้ให้เลือกใช้อย่างมากมายหลายยี่ห้อ

แล้วมันช่วยเพิ่มสมรรถนะของเครื่องยนต์ได้อย่างไร

จากที่ผมได้หาข้อมูลของ หัวเชื้อน้ำมันเครื่อง ทั้งของในประเทศและต่างประเทศ โดยรวมแล้ว เค้าจะอ้างว่า... ทำให้ประหยัดน้ำมันเพิ่มขึ้น เพิ่มกำลังเครื่องยนต์ เพิ่มการปกป้องของเครื่องยนต์ รวมไปถึง ช่วยยืดอายุการใช้งานของน้ำมันเครื่อง ฟังดูแล้ว...สรรพคุณที่ถูกโฆษณาก็น่าประทับใจ และราคาก็เย้ายวนเหลือเกิน มันจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่พวกเราๆ จะควักเงินในกระเป๋าแทบจะทันที ...แต่เอ๊ะ! ลืมอะไรไปหรือเปล่า...ที่เราได้ยินมาทั้งหมดนั้น คือ ข้อดี นะ! ...แล้ว ข้อเสีย ล่ะ!

ก่อนที่เราจะไปวิเคราะห์หน้าที่และความสำคัญ รวมถึงข้อดี-ข้อเสียของ หัวเชื้อน้ำมันเครื่อง...มันเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมากที่ท่านผู้อ่านจะต้องเข้าใจ องค์ประกอบของ น้ำมันเครื่อง ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นอาหารหลักของเครื่องยนต์ เพราะฉะนั้น ผมก็เลยได้สรุป โครงสร้างพื้นฐาน ของน้ำมันเครื่อง แบบกระชับสั้นๆ มาให้ได้อ่านทำความเข้าใจกันก่อนครับ

โครงสร้างของน้ำมันเครื่อง

โครงสร้างของน้ำมันเครื่องนั้น จะประกอบไปด้วยสารทั้งหมด 2 ตัว นั่นก็คือ น้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน (Base Oil) และ สารเติมแต่ง (Additives) โดยที่ น้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน (Base Oil) จะเป็นตัวบ่งชี้ถึงคุณสมบัติหลักของน้ำมันเครื่องแต่ละชนิดครับ ส่วนสารเติมแต่งนั้น ก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับตัวน้ำมันเครื่องอีกต่อหนึ่ง ซึ่งแต่ละยี่ห้อ-แต่ละเจ้า เค้าก็จะมีสูตรของสารเติมแต่งที่แตกต่างกันออกไป เพื่อให้น้ำมันเครื่องสามารถตอบสนองกับการใช้งานของลูกค้า ได้ตรงตามวัตถุประสงค์

ปกติแล้ว น้ำมันเครื่องที่เราคุ้นเคยกันจะสามารถแบ่งออกตามกรรมวิธีการผลิตได้ทั้งหมด 3 ชนิดครับ ซึ่งได้แก่ น้ำมันเครื่องธรรมดา (Conventional Oil), น้ำมันเครื่องสังเคราะห์แท้ (Synthetic Oil) และ น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ (Semi-synthetic Oil) ...อย่างไรก็ตาม ในบทความนี้ ผมจะขออนุญาตไม่ลงลึกในส่วนของเนื้อหาน้ำมันเครื่องแต่ละประเภท และสำหรับท่านผู้อ่านที่สนใจถึงข้อดี-ข้อด้อยของน้ำมันเครื่องแต่ละประเภท สามารถอ่านทำความเข้าใจเพิ่มเติมได้ที่บทความเรื่อง น้ำมันเครื่องแบบธรรมดา, กึ่งสังเคราะห์ และสังเคราะห์แท้...แบบไหนดีกว่ากัน

เอาล่ะครับ หลังจากที่เราได้รู้ถึงส่วนประกอบพื้นฐานน้ำมันเครื่องแล้ว ต่อไปเราก็จะมาวิเคราะห์กันว่า หัวเชื้อน้ำมันเครื่อง นั้น มีหน้าที่อย่างไร และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ได้จริงหรือไม่

ความจริงก็คือว่า... หัวเชื้อน้ำมันเครื่อง (Oil Additives) ก็คือสารตัวเดียวกันกับ สารเติมแต่ง (Oil Additives) ที่ถูกใส่มากับน้ำมันเครื่องตั้งแต่ต้นทางแล้วครับ เพราะฉะนั้นแล้ว หัวเชื้อน้ำมันเครื่อง จึงมีหน้าที่เช่นเดียวกันกับ สารเติมแต่ง นั่นก็คือการช่วยทำความสะอาดเครื่องยนต์ ลดอัตราการสึกหรอ ลดการรั่วไหลของกำลังอัด และอื่นๆ อีกมากมาย

คำถามก็คือว่า ในเมื่อน้ำมันเครื่องมันมี สารเติมแต่ง เป็นที่เรียบร้อยแล้ว... การเติม หัวเชื้อน้ำมันเครื่อง ลงไปในเครื่องยนต์ มันจะส่งผลดีอย่างที่เค้าว่าเป็น อาหารเสริม จริงหรือเปล่า หรือว่ามันจะมีแต่ผลเสีย กลายเป็น ยาพิษ บั่นทอนสมรรถนะของเครื่องยนต์ ...หรือสุดท้ายแล้ว มันอาจจะ ไม่ได้ช่วยอะไรเลย กลายเป็นการสิ้นเปลืองเงินโดยใช่เหตุ

เพราะฉะนั้น ในบทความนี้ เราก็จะมาหาตอบของคำถามข้างต้น แล้วมาสรุปกันว่า หัวเชื้อน้ำมันเครื่อง จริงๆ แล้วมันคือ อาหารเสริม หรือว่า ยาพิษ กันแน่

แต่ก่อนอื่น ผมอยากจะให้ท่านผู้อ่านได้ทราบถึงรายละเอียดของ สารเติมแต่ง ที่ถูกปรุงมาตั้งแต่ต้นทาง ซึ่งในสารเติมแต่งมันก็จะมีสารอีกหลายตัว แต่ละตัวก็มีคุณสมบัติแตกต่างกันไป และแน่นอนว่า ในหัวเชื้อน้ำมันเครื่อง ก็จะประกอบไปด้วยสารเหล่านี้เช่นกันครับ...

สารทำความสะอาด (Detergents)

ช่วยลดการสะสมตัวของตะกอนและสิ่งเจือปนที่อยู่ในน้ำมันเครื่อง ชะล้างเม็ดฝุ่นและผงเหล็กให้อยู่ห่างจากพื้นผิวของเครื่องยนต์ เป็นผลให้สามารถลดอาการสึกหรออย่างมีประสิทธิภาพ

สารป้องการความเป็นกรด (Anti-acids)

ช่วยสร้างความสมดุลการเป็นกรด ซึ่งกรดที่ว่านี้เกิดจากการสะสมตัวน้ำมัน (ที่จุดระเบิดไม่สมบูรณ์) รวมไปถึงการทำปฏิกิริยาของไอเสียจากการเผาไหม้ ถ้าหากน้ำมันเครื่องมีความเป็นกรดมาเกินไป จะส่งผลให้เกิดการสึกหรอกที่เรียกว่า การกัดกร่อน (Corrosion) ทำให้อายุการใช้งานของเครื่องยนต์สั้นลงเกินความเป็นจริง

สารปรับแต่งความหนืด (Viscosity Modifiers)

ช่วยทำให้น้ำมันเครื่องสามารถรักษาความหนืดที่ดีที่สุดไว้ได้ แม้จะทำงานในย่านอุณหภูมิสูงและความดันสูง ช่วยเพิ่มสมรรถนะของเครื่องยนต์ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุกสภาวะการใช้งาน

ความจริงแล้ว ยังมีสารปรุงแต่งอีกหลายตัวที่ผมไม่ได้พูดถึง แต่เอาเท่านี้ก็พอครับ เดี๋ยวจะนอกเรื่องไปไกลเกิน เอาล่ะ...คราวนี้ ก็ไปหาคำตอบของคำถามกัน

หัวเชื้อน้ำมันเครื่อง คือ อาหารเสริม หรือ ยาพิษ

ถ้าหากน้ำมันเครื่องที่เราใช้อยู่ ได้มีการเติมสารเหล่านี้ไปอย่างครบถ้วนแล้ว การเติมหัวเชื้อที่มี สูตรเดียวกัน ลงไปในเครื่องยนต์นั้น ตามทฤษฎีแล้ว หัวเชื้อจะไปเร่งปฏิกิริยาของสารเติมแต่ง ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสารทำความสะอาด สารป้องกันความเป็นกรด สานปรับแต่งความหนืด และอื่นๆ อีกมากมาย อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะช่วยเพิ่มสมรรถนะของเครื่องยนต์ ถึงแม้จะทำให้เครื่องยนต์สะอาดขึ้น ...แต่ความแตกต่างนี้ ก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงแบบหน้ามือเป็นหลังมือซะทีเดียวนะครับ

แต่ในกรณีที่ว่า น้ำมันเครื่องที่อยู่ในรถเรานั้น ไม่ได้ถูกปรุงแต่งอย่างเต็มสูตร หรือเรียกได้ว่าสารเติมแต่งที่มาพร้อมกับน้ำมันเครื่องนั้น ยังมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วน เพราะฉะนั้นแล้ว การเติมหัวเชื้อน้ำมันเครื่อง ก็เป็นการเพิ่มคุณสมบัติบางประการที่ ไม่ได้มาพร้อมกับน้ำมันเครื่อง ...ถ้าเป็นอย่างกรณีหลังนี้ เราก็จะได้รับประโยชน์จากหัวเชื้อไปแบบเต็มๆ เลยล่ะครับ

อย่างไรก็ตาม สำหรับหัวเชื้อสูตรผีบอกที่ไม่มีมาตรฐาน อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง ก็มีโอกาสที่มันจะกลายเป็น ยาพิษ สำหรับเครื่องยนต์ นอกจากมันจะบั่นทอนสมรรถนะการทำงานแล้ว มันยังทำให้อายุการใช้งานของเครื่องยนต์ลดลงอย่างต่อเนื่อง

ปัจจัยที่ทำให้ หัวเชื้อน้ำมันเครื่อง กลายเป็นยาพิษ

1. คุณภาพของหัวเชื้อน้ำมันเครื่อง

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้หัวเชื้อน้ำมันเครื่องกลายเป็น ก็คือ คุณภาพ ของหัวเชื้อน้ำมันเครื่อง การเติมสารกระตุ้นในปริมาณที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้หัวเชื้อทำปฏิกิริยากับสารเติมแต่ง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อคุณสมบัติทางเคมีบางประการของน้ำมันเครื่อง และนำมาซึ่งปัญหาเกี่ยวกับระบบหล่อลื่นและการระบายความร้อน*

*อ้างอิงจาก -http://www.shell.co.th/

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หัวเชื้อน้ำมันเครื่องที่ใส่สาร PTFE Polytetrafluorethylene ในปริมาณที่มากเกินควร (หรือที่รู้จักกันในชื่อ เทฟล่อน ...ที่เค้าเอาไว้เคลือบกระทะนั่นแหละครับ) ซึ่งเค้าว่ากันว่ามันลื่นนักลื่นหนา และด้วยความลื่นของมันนี่แหละ ที่ทำให้มัน ไม่สามารถ เกาะอยู่ตามชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวได้แต่อย่างใด เพราะฉะนั้นแล้ว สารตัวนี้ จึงไม่ได้มีส่วนในการช่วยลดการสึกหรอของเครื่องยนต์เท่าไรนัก

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสาร PTFE

เท่าที่ผมทราบ สารตัวนี้จะมีสถานะเป็นของแข็ง ณ อุณหภูมิห้อง นั่นหมายความว่าจะมีลักษณะเป็นผงละเอียด ถึงแม้ผู้ผลิตจะอ้างว่า PTFE จะสร้างชั้นฟิล์มเพื่อเคลือบชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ แต่ชิ้นส่วนที่ถูกเคลือบนั้น จะเป็นชิ้นส่วนที่ไม่เคลื่อนที่ซะส่วนใหญ่ ยกตัวอย่างเช่นท่อทางเดินน้ำมันเครื่อง รวมไปถึงกรองน้ำมันเครื่อง

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ -http://www.1expired.com/dura-lube_slick50.htm

โซนแนะนำสินค้า

ในวันนี้ ผมก็จะขออนุญาตมาแนะนำผลิตภัณฑ์หัวเชื้อน้ำมันเครื่องคุณภาพสูงจาก Motys นั่นก็คือ Motys M650สามารถประสานการทำงานกับสารเติมแต่งที่มาพร้อมกับน้ำมันเครื่อง ชะล้างฝุ่นและผงเหล็กจากชิ้นส่วนเคลื่อนที่ รวมไปถึงระบบท่อทางเดินน้ำมันเครื่อง นอกจากนั้นยังช่วยป้องกันอาการลูกสูบติดและลดการรั่วไหลกำลังอัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะกับรถยนต์ดีเซลซึ่งที่มีกำลังสูงเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว รวมไปถึงรถยนต์เบนซินที่ถูกโมดิฟายเพื่อเพิ่มกำลังอัดอีกด้วยครับ สำหรับท่านผู้อ่านที่สนใจในตัวผลิตภัณฑ์ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้โดยตรงที่ Motys Oil Thailand

ท่านผู้อ่านหลายท่านที่รู้จักแบรนด์ Motys เป็นอย่างดี อาจจะเกิดข้อสงสัยว่า...อ้าว Motys เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันเครื่องเป็นหลักอยู่แล้วหนิ ทำไมจึงทำหัวเชื้อน้ำมันเครื่องออกมาจำหน่ายอีก แบบนี้ก็แสดงว่า น้ำมันเครื่อง Motys ที่ขายในปัจจุบัน มีสารเติมแต่งไม่ครบถ้วนน่ะสิ

คำตอบของคำถามข้างต้นนั้นก็คือว่า... หัวเชื้อตัวนี้ ไม่ได้ถูกผลิตมาเพื่อใส่ลงไปในน้ำมันเครื่อง Motysโดยเฉพาะ ...แต่หากว่าถูกผลิตขึ้นมาให้ผสมกับน้ำมันเครื่องยี่ห้ออื่นๆ ซึ่งไม่ได้ถูกปรุงสารเติมแต่งมาอย่างครบถ้วน อย่างไรก็ดี หัวเชื้อ M650 ก็สามารถใช้ร่วมกับน้ำมันเครื่อง Motys เพื่อเร่งปฏิกิริยาของสารเติมแต่งได้อย่างไม่มีปัญหาครับ

2. การเติมหัวเชื้อไม่ตรงตามอัตราส่วนที่กำหนด

เพื่อควบปฏิกิริยาเคมีให้เป็นไปอย่างถูกต้องสมบูรณ์ ทางผู้ผลิตหัวเชื้อน้ำมันเครื่อง จึงได้กำหนดอัตราส่วนของการเติมหัวเชื้อในหน่วยของปริมาตร ยกตัวอย่างเช่น หัวเชื้อน้ำมันเครื่อง M650 ของ Motys ได้กำหนดอัตราส่วนการผสมอยู่ที่ 3-5% ของน้ำมันเครื่อง ซึ่งผู้ใช้จะต้องทราบปริมาณของน้ำมันเครื่องที่อยู่ในรถ จากนั้นจึงนำมาคำนวณเพื่อหาปริมาณหัวเชื้อที่ต้องเติมเพิ่มเข้าไปนั่นเองครับ

3. การเติมหัวเชื้อลงไปในน้ำมันเครื่องที่เสื่อมสภาพ

ถึงแม้ว่าการเติมหัวเชื้อจะช่วยเพิ่มอายุการใช้งานของน้ำมันเครื่องได้ แต่ถ้าหากเรานำหัวเชื้อไปเติมลงในน้ำมันเครื่องที่หมดอายุแล้วนั้น ก็ไม่ต่างอะไรกับ การรดน้ำตอไม้ที่ตายแล้ว

อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่า น้ำมันเครื่องประกอบด้วย น้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน (Base Oil) บวกกับ สารเติมแต่ง (Additives) เพราะฉะนั้น การเติมหัวเชื้อลงไปในน้ำมันเครื่องที่หมดอายุ ก็จะเป็นเพียงการไปกระตุ้นปฏิกิริยาของ สารเติมแต่ง แต่เพียงเท่านั้น ...ไม่สามารถกู้ชีพ น้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน ที่เสื่อมสภาพไปแล้วแต่อย่างใดครับ

เหรียญมีสองด้าน ฉันใด หัวเชื้อน้ำมันเครื่องก็มีทั้งผลดีและผลเสีย ฉันนั้น

ความจริงแล้ว ไม่ใช่แต่ หัวเชื้อน้ำมันเครื่อง เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ทุกสินค้า-ทุกผลิตภัณฑ์ ล้วนแล้วแต่มีข้อดี-ข้อเสีย และแน่นอนว่า สิ่งที่เราได้รับได้รู้จากคำโฆษณานั้น เป็นเพียงแค่ ข้อดี เท่านั้นครับ ในส่วนของ ข้อเสีย นั้น ก็เป็นหน้าที่ของเราในฐานนะผู้บริโภค ที่ต้องศึกษาและเลือกใช้อย่างฉลาด

สำหรับท่านผู้อ่านที่สนใจใน หัวเชื้อน้ำมันเครื่อง ก็ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และเชื่อถือได้ ถ้าจะให้ดีก็ควรจะมีผลการทดสอบยืนยันอย่างชัดเจน เพียงเท่านี้ ก็จะได้รับผลประโยชน์ไปเต็มๆ แล้วล่ะครับ

เอาล่ะครับ มาถึงย่อหน้านี้ ผมก็มั่นใจว่าท่านผู้อ่านน่าจะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับ หัวเชื้อน้ำมันเครื่อง ไม่มากก็น้อย และหวังว่าข้อมูลทั้งหมดในบทความนี้ จะเป็นประโยชน์แก่การตัดสินใจเลือกซื้อหัวเชื้อน้ำมันเครื่อง สำหรับบทความนี้ ก็คงต้องขอจบแต่เพียงเท่านี้ ท่านผู้อ่านสามารถติดตาม ข่าวสารยานยนต์หรือ บทความอื่นๆได้ที่ แฟนเพจ Joh's Autolifeได้เลยครับผม

เรียบเรียงโดยJoh BURUT

สนับสนุนบทความโดยMotys Oil Thailand

ข้อมูลอ้างอิง

- http://www.1expired.com/

- https://ultimatesyntheticoil.com/

- http://www.carbibles.com/additives.html

- https://www.bellperformance.com/

- https://www.shell.co.th

Get Connected | ติดต่อกับพวกเราได้ที่...