ถือเป็นข่าวอื้อฉาวในวงการอุตสากรรมยานยนต์โดยทันที เมื่อบริษัท โกเบ สตีล ผู้ผลิตเหล็กยักษ์ใหญ่ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งได้ป้อนสินค้าให้กับผู้ผลิตรถยนต์และเครื่องบินมากกว่า 200-บริษัท ได้ออกมาก้มหัวยอมรับว่า บริษัทของตนเองนั้น ได้ ปลอมแปลง-และ-บิดเบือน ข้อมูลคุณภาพของเหล็กมาเป็นเวลานานกว่า 10-ปี
เมื่อเป็นเช่นนี้ NISSAN ค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่แห่งเมืองโยโกฮาม่า ก็งานเข้าโดยทันที โดย NISSAN ถือเป็นหนึ่งในลูกค้าหลักที่ได้ทำธุรกิจกับ โกเบ สตีล มาอย่างยาวนาน เมื่อเป็นเช่นนี้ ทาง NISSAN จึงได้ประกาศหยุดไลน์การผลิตทั้งหมด 6-โรงงานในประเทศญี่ปุ่น ...เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2-อาทิตย์
โดยรถยนต์ที่ถูกทำการรีคอลนั้น คือรถยนต์ ‘ทุกรุ่น’ ที่ได้ทำการผลิตและประกอบจากโรงงานในระยะเวลา 3-ปี ที่ผ่านมา (2015-2017) แน่นอนว่า เรือชูธงอย่าง NISSAN GT-R ก็ไม่แคล้ว ถูกเรียกตัวกลับฐานทัพโดยด่วน สรุปยอดรวมของรถยนต์ที่ถูกเรียกตัวกลับไปตรวจสอบนั้น มีจำนวนมากกว่า 1.2-ล้านคัน
รถยนต์ที่ถูกทำการรีคอลนั้น จะถูกนำมาวินิจฉัยเรื่องความแข็งแรงโดยรวม นอกจากนั้นยังมีการทดสอบสมรรถนะโดยทั่วไป อย่างเช่น การเข้าโค้ง, ทดสอบอัตราเร่ง รวมไปถึงประสิทธิภาพของการเบรก ซึ่งรายละเอียดลึกๆ ของการทดสอบ รวมไปถึงระยะเวลาที่ใช้ทดสอบนั้น ยังไม่ได้มีการระบุไว้แต่อย่างใด
นักวิเคราะห์ต่างชาติได้ประเมินความเสียหายจาก ‘วิบัติ-โกเบ’ ที่เกิดขึ้นกับ NISSAN ในครั้งนี้ โดยคาดว่า NISSAN จะมีค่าเสียหายสูญเปล่าประมาณ 220-ล้านดอลล่าห์สหรัฐ (ประมาณ 7,400-ล้านบาท) ซึ่งค่าเสียหายดังกล่าวนี้ มาจากกระบวนการรีคอลรถยนต์ทั้งหมด รวมไปถึงค่าเสียหายจากการหยุดไลน์การผลิตทั้งหมด 6-โรงงาน ในประเทศญี่ปุ่น
อย่างไรก็ตาม โบอิ้ง (Boing) บริษัทสัญชาติอเมริกันซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่ของโลก ก็เป็นหนึ่งในลูกค้ารายใหญ่ของ โกเบ สตีล เมื่อโบอิ้งได้ทราบข่าวการปลอมแปลงวัสดุ พวกเขาก็ได้ทำการตรวจสอบผลิตภัณฑ์จากซัพพลายเออร์ญี่ปุ่นโดยทันที และได้รายงานว่า ไม่พบเหล็กที่มีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐาน และวัตถุดิบจาก โกเบ สตีล ไม่ได้มีความบกพร่องด้านความปลอดภัยแต่อย่างใด
และนี่ก็ถือเป็นข่าวอื้อฉาวครั้งล่าสุดที่หลุดออกมาจากประเทศญี่ปุ่น ประเทศที่ขึ้นชื่อว่า ‘มีความน่าเชื่อถือ’ มากที่สุดประเทศหนึ่งของโลก และในขณะนี้ บริษัท โกเบ สตีล ก็กำลังทำการค้นหาต้นตอ-และ-สาเหตุอย่างเร่งด่วน เพื่อที่จะสืบทราบให้ได้ว่า กระบวนการใดหรือว่าส่วนงานไหน ที่มีส่วนร่วมในการบิดเบือนข้อมูลคุณภาพเหล็กในครั้งนี้
ที่มา